Meemodo.com
ท่องเที่ยวทั่วไทย 
"ดูดวงแม่นๆโทร.088-555-9771 อ.รวีโรจน์ มีหมอดู"

    Side Menu

                            ภาคเหนือ

                            ภาคกลาง

                             ภาคอีสาน

                            ภาคตะวันออก

                             ภาคใต้

           แนะนำแหล่งท่องเที่ยว





                                                                                              

ข้อมูลประเทศไทย

 

ที่ตั้ง
    ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เหนือเส้นศูนย์สูตรเล็กน้อย หรือระหว่างเส้นละติจูดหรือเส้นรุ้งที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูดหรือเส้นแวงที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก

    สำหรับที่ตั้งของประเทศไทยตามแนวลองจิจูดนั้น ประเทศไทยยึดเอาลองจิจูดที่ 105 องศาตะวันออกเป็นเวลามาตรฐาน ทำให้ประเทศไทยมีเวลาแตกต่างจากเวลามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่วโมง การติดต่อในเชิงธุรกิจกับประเทศใด ๆ มีความจำเป็น ที่จะต้องรู้เวลาของประเทศนั้นว่า แตกต่างจากเวลาในประเทศไทยกี่ชั่วโมง เพื่อให้เกิดความสะดวกและทันเวลา เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีเวลาที่เร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมง จีน มาเลเซีย มีเวลาเร็วกว่าไทย 1 ชั่วโมง ประเทศสหรัฐอเมริกา มีเวลาตรงกันข้ามกับไทย

รูปร่าง
    ประเทศไทยมีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ กระบวยตักน้ำ ช่อดอกไม้ หรือม้าน้ำ แต่นักการทหารมองว่าเหมือน "หัวช้าง" โดยส่วนหัวช้าง คือ ภาคเหนือ ส่วนงวง คือ ภาคใต้ ส่วนที่เป็นปาก ได้แก่ บริเวณอ่าวไทย ที่ราบลุ่มเจ้าพระยา และชายฝั่ง ตะวันออก ส่วนหูช้าง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ด้วยลักษณะรูปร่างดังกล่าว จัดว่ามีข้อด้อยอยู่หลายประการ เช่น รูปร่างที่ยาวเรียวลงไปทางใต้ ทำให้เสียเวลาในการเดิน ทาง และค่าใช้จ่ายในการสร้างเส้นทางคมนาคม รวมถึงการดูแลรักษาประเทศ เช่น การป้องกันชายฝั่งทะเลที่ยาวเหยียด ทั้งสองด้าน นอกจากนี้รูปร่างที่ยื่นออกไปหรือถูกขนาบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีปัญหาบริเวณชายแดนอยู่ตลอดเวลา เช่น มีการอพยพโยกย้ายถิ่นเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต ปัญหาก่อการร้ายและยาเสพติด ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ต้องระมัด ระวังเป็นพิเศษ

ขนาด
    ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่ อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ประกอบด้วย อินโดนีเซีย พม่า ไทย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา บรูไน สิงคโปร์) รองจาก อินโดนีเซียและพม่า ใหญ่กว่าลาวประมาณ 2 เท่า ใหญ่กว่ากัมพูชาประมาณ 3 เท่า และมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศ ฝรั่งเศส หรือมลรัฐเท็กซัสของสหรัฐอเมริกา *มีพื้นที่ 513,115.020 ตารางกิโลเมตร หรือ 320,696,887.500 ไร่ (*ข้อมูลพื้นที่จากอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 6 ภาคผนวก พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2529) หรือ ประมาณ 198,953 ตารางไมล์

    การที่ประเทศไทยมีขนาดใหญ่ มีข้อดีในเรื่องของประเภทและปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ ความลึกของพื้นที่ทำให้ได ้เปรียบในด้านการป้องกันประเทศ การมีประชากรจำนวนมาก มีผลดีในเรื่องของการใช้แรงงานและความคิด ส่วนความ แตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ส่งผลให้มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายขึ้น


แนวพรมแดน
    มีความยาวของพรมแดนทางบก 5,326 กิโลเมตร ความยาวทางทะเลฝั่งอ่าวไทย 1,840 กิโลเมตร และความยาว ทางฝั่งทะเลอันดามัน 865 กิโลเมตร ความยาวจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ถึง อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่งเป็นจุดเหนือสุดและใต้สุด ของประเทศ ระยะทาง 1,640 กิโลเมตร และความกว้างจากด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ถึงช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ระยะทาง 780 กิโลเมตร

    ส่วนที่แคบที่สุด อยู่ในเขต จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งวัดจากพรมแดนสหภาพพม่า ที่ทิวเขาตะหนาวศรีถึงฝั่งทะเลอ่าว ไทย ที่บ้านวังด้วน ต.ห้วยทราย อ.เมือง ตามแนวละติจูด 11 องศา 43 ลิปดา เหนือ เป็นระยะทาง 10.96 กิโลเมตร ตรง บริเวณที่ตั้งของจังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร ตามแนวละติจูด 10 องศา เหนือ ถือได้ว่าเป็นส่วนแคบที่สุดของพื้นที่ แผ่นดินที่เป็นภาคใต้ของไทย และเป็นจุดตั้งต้นของคาบสมุทรมลายู บริเวณพื้นที่ส่วนนั้นเรียกว่า คอคอดกระ มีความ กว้าง 64 กิโลเมตร โดยวัดจากฝั่งแม่น้ำกระบุรี ใน อ.เมือง จ.ระนองถึงฝั่งทะเลอ่าวไทย อ.หลังสวน จ.ชุมพร

    ประเทศไทยมีแนวพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ ได้แก่ พรมแดนด้านพม่า (เมียนมาร์) ยาว 2,202 กิโลเมตร พรมแดนด้านลาว 1,750 กิโลเมตร พรมแดนด้านกัมพูชายาว 798 กิโลเมตร พรมแดนด้านมาเลเซีย 576 กิโลเมตร โดยที่แนวพรมแดนส่วนใหญ่ยึดเอาแนวสันปันน้ำของภูเขา ทางน้ำหรือลำน้ำบริเวณแนวกลางของร่องน้ำที่ไหล แรงที่สุด เรียกว่า ร่องน้ำลึก ยกเว้นพรมแดนในแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสให้ถือเอาเกาะแก่งเป็นของลาวทั้งหมด แม้ว่าจะอยู่ ใกล้ฝั่งไทย (ยกเว้น 8 เกาะ)์
 

  1.

แนวพรมแดนระหว่างไทย-สหภาพพม่า หรือเมียนมาร์ ความยาว 2,202 กิโลเมตร ทอดไปตามร่องน้ำลึกของแม่น้ำ รวก แม่น้ำสาย ทิวเขาแดนลาว แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมย ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี และแม่น้ำกระบุรี (ปากจั่น) อยู่ในเขตพื้นที่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง

  2.

แนวพรมแดนระหว่างไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความยาว 1,750 กิโลเมตร ทอดไปตามร่องน้ำลึก ของแม่น้ำโขงตอนบน แม่น้ำเหืองงา แม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขงตอนล่าง และทอดไปตามสันปันน้ำในทิวเขาหลวงพระบาง ทางตอนเหนือ และสันปันน้ำในทิวเขาภูแดนลาวทางตอนใต้ อยู่ในเขต จ.เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี

  3.

แนวพรมแดนระหว่างไทย-ราชอาณาจักรกัมพูชา ความยาวประมาณ 798 กิโลเมตร นับจากอ่าวไทยทอดไปตามทิวเขา บรรทัด แม่น้ำไพลิน (หรือห้วยเขมร) คลองลึก คลองด่าน คลองน้ำใส ที่ราบแนวเส้นตรงคลองปากอ้าว (ปากอ่าว) และทิว เขาพนมดงรัก ในเขต จ.ตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

  4.

แนวพรมแดนระหว่างไทย-สหพันธรัฐมาเลเซีย ความยาว 576 กิโลเมตร ทอดไปตามสันปันน้ำของทิวเขาสันกาลาคีรี ร่องน้ำลึกของแม่น้ำโก-ลก ในเขต จ.สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส แนวพรมแดนแสดงความเป็นอธิปไตยเหนือพื้นที่ บริเวณนั้น แนวพรมแดนทางธรรมชาติ เหมาะสำหรับกีดขวาง ช่วยในการป้องกันข้าศึกรุกราน แต่ขัดขวางด้านการ คมนาคม ติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างมิตรประเทศ ในปัจจุบันนี้แนวพรมแดนจัดว่าเป็นแหล่งเศรษฐกิจ ที่สำคัญของประเทศ เพราะเปิดตลาดทำการค้าขายกันหลายแห่งกลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว เพราะมีจุดชมวิวที่ สวยงามด้วย บางแห่งมีประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ โดยทั่วไปเป็นจุดที่อยู่ตรงช่องเขาหรือมีแม่น้ำ กั้น


    ลักษณะภูมิประเทศโดยรวมของไทยประกอบด้วย เทือกเขา ป่าไม้ เนินเขา ที่ราบสูง ที่ราบหุบเขา ที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ ใหญ่หลายสาย ทะเล ชายหาด และเกาะแก่งต่าง ๆ

    การแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยตามที่กำหนดไว้ในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ของราชบัณฑิตสถาน เล่ม 1 ปี 2525 หน้า 3-18 แบ่งออกเป็น 6 ภาค และมีขนาดของพื้นที่ในแต่ละจังหวัดเป็นตารางกิโลเมตร โดยประมาณ ดังนี้
 
ภาคกลาง  

ประกอบด้วย 22 จังหวัด เนื้อที่ 91,795.124 ตารางกิโลเมตร

  1. กรุงเทพฯ 1,5652.221  

ตร.กม.

  2. กำแพงเพชร 8,607.490  

ตร.กม.

  3. ชัยนาท 2,469.746  

ตร.กม.

  4. นครปฐม 2,168.327  

ตร.กม.

  5. นครนายก 2,122.000  

ตร.กม.

  6. นครสวรรค์ 9,597.677  

ตร.กม.

  7. นนทบุรี 622.303  

ตร.กม.

  8. ปทุมธานี 1,525.856  

ตร.กม.

  9. พระนครศรีอยุธยา 2,556.640  

ตร.กม.

  10. พิจิตร 4,531.013  

ตร.กม.

  11. พิษณุโลก 10,815.854  

ตร.กม.

  12. เพชรบูรณ์ 12,668.416  

ตร.กม.

  13. ลพบุรี 6,199.753  

ตร.กม.

  14. สมุทรปราการ 1,004.092  

ตร.กม.

  15. สมุทรสงคราม 416.707  

ตร.กม.

  16. สมุทรสาคร 872.347  

ตร.กม.

  17. สระบุรี 3,576.486  

ตร.กม.

  18. สิงห์บุรี 822.478  

ตร.กม.

  19. สุโขทัย 6,596.092  

ตร.กม.

  20. สุพรรณบุรี 5,358.008  

ตร.กม.

  21. อ่างทอง 968.372  

ตร.กม.

  22. อุทัยธานี 6,730.246  

ตร.กม.

ภาคตะวันตก
 

ประกอบด้วย 5 จังหวัด เนื้อที่ 53,679.018 ตารางกิโลเมตร

  1. กาญจนบุรี 19,483.148  

ตร.กม.

  2. ตาก 16,406.650  

ตร.กม.

  3. ประจวบคีรีขันธ์ 6,367.620  

ตร.กม.

  4. เพชรบุรี 6,225.138  

ตร.กม.

  5. ราชบุรี 5,196.462  

ตร.กม.

 

ภาคตะวันออก หรือ ตะวันออกเฉียงใต้

ประกอบด้วย 7 จังหวัด เนื้อที่ 34,380.500 ตารางกิโลเมตร

  1. จันทบุรี 6,338.000  

ตร.กม.

  2. ฉะเชิงเทรา 5,351.000  

ตร.กม.

  3. ชลบุรี 4,363.000  

ตร.กม.

  4. ตราด 2,819.000  

ตร.กม.

  5. ปราจีนบุรี 4,762.362  

ตร.กม.

  6. ระยอง 3,552.000  

ตร.กม.

  7. สระแก้ว 7,195.138  

ตร.กม.

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 

ประกอบด้วย 19 จังหวัด เนื้อที่ 168,854.341 ตารางกิโลเมตร

  1. กาฬสินธุ์ 6,946.746  

ตร.กม.

  2. ขอนแก่น 10,885.991  

ตร.กม.

  3. ชัยภูมิ 12,778.287  

ตร.กม.

  4. นครพนม 5,512.668  

ตร.กม.

  5. นครราชสีมา 20,493.964  

ตร.กม.

  6. บุรีรัมย์ 10,321.885  

ตร.กม.

  7. มหาสารคาม 5,291.683  

ตร.กม.

  8. มุกดาหาร 4,339.830  

ตร.กม.

  9. ยโสธร 4,161.664  

ตร.กม.

  10. ร้อยเอ็ด 8,299.449  

ตร.กม.

  11. เลย 11,424.612  

ตร.กม.

  12. ศรีสะเกษ 8,839.976  

ตร.กม.

  13. สกลนคร 9,605.764  

ตร.กม.

  14. สุรินทร์ 8,124.056  

ตร.กม.

  15. หนองคาย 7,332.280  

ตร.กม.

  16. หนองบัวลำภู 3,859.086  

ตร.กม.

  17. อำนาจเจริญ 3,161.248  

ตร.กม.

  18. อุดรธานี 11,730.302  

ตร.กม.

  19. อุบลราชธานี 15,744.850  

ตร.กม.

 

 

ภาคใต้

ประกอบด้วย 14 จังหวัด เนื้อที่ 70,715.187 ตารางกิโลเมตร

  1. กระบี่ 4,708.512  

ตร.กม.

  2. ชุมพร 6,009.008  

ตร.กม.

  3. ตรัง 4,917.519  

ตร.กม.

  4. นครศรีธรรมราช 9,942.502  

ตร.กม.

  5. นราธิวาส 4,475.430  

ตร.กม.

  6. ปัตตานี 1,940.356  

ตร.กม.

  7. พังงา 4,170.895  

ตร.กม.

  8. พัทลุง 3,424.473  

ตร.กม.

  9. ภูเก็ต 543.034  

ตร.กม.

  10. ยะลา 4,521.078  

ตร.กม.

  11. ระนอง 3,298.045  

ตร.กม.

  12. สงขลา 7,393.889  

ตร.กม.

  13. สตูล 2,478.977  

ตร.กม.

  14. สุราษฎร์ธานี 12,891.469  

ตร.กม.

 

ภาคเหนือ

ประกอบด้วย 9 จังหวัด เนื้อที่ 93,690.850 ตารางกิโลเมตร

  1. เชียงราย 11,678.369  

ตร.กม.

  2. เชียงใหม่ 20,107.057  

ตร.กม.

  3. น่าน 11,472.072  

ตร.กม.

  4. พะเยา 6,335.060  

ตร.กม.

  5. แพร่ 6,538.598  

ตร.กม.

  6. แม่ฮ่องสอน 12,681.259  

ตร.กม.

  7. ลำปาง 12,533.961  

ตร.กม.

  8. ลำพูน 4,505.882  

ตร.กม.

  9. อุตรดิตถ์ 7,838.592  

ตร.กม.


Copyright (c) 2006 by Meemodo.com