Meemodo.com
ท่องเที่ยวทั่วไทย 
"ดูดวงแม่นๆโทร.088-555-9771 อ.รวีโรจน์ มีหมอดู"

    Side Menu

                            ภาคเหนือ

                            ภาคกลาง

                             ภาคอีสาน

                            ภาคตะวันออก

                             ภาคใต้

           แนะนำแหล่งท่องเที่ยว





                                                                                              
ศาสนา

ศาสนาพุทธ
    ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเปิดโอกาสให้ประชากรเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ตามความสมัครใจ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู คริสต์ และอิสลาม แต่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนา ประจำชาติ ที่ทำให้ชาวไทยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้ละมุนละไม อันก่อให้เกิดงานฝีมือ ศิลปะที่ หลากหลาย เกิดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่บ่งบอกถึง ความเป็นเอกราช ความเจริญรุ่งเรืองควบคู่ไปกับความงดงามที่มีอยู่ในจิตใจของคนไทย เป็นที่เลื่องลือไปถึงแดนไกล เป็น ที่สนใจของชาวต่างชาติ จนต้องเดินทางมาเยี่ยมชมดินแดนแห่งนี้ และยังมีนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งที่ให้ความสนใจศึกษา พุทธศาสนาในบ้านเราอย่างจริงจัง เด็กไทยอย่างเรา น่าจะทราบประวัติความเป็นมาอย่างคร่าว ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการ ค้นคว้าเพิ่มเติม

การกำเนิดของศาสนา
    พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนา หรือเทศน์ครั้งแรกเมื่อก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ชมพูทวีป ซึ่งปัจจุบัน คือ ประเทศอินเดีย เนปาล และปากีสถาน โดยพระองค์ท่านประสูติก่อนพระพุทธศาสนา 80 ปี และ ท่านมีพระนามว่า "พระโคดมพุทธเจ้า" หรือ "สิทธัตถโคตมะ" การที่ท่านคิดหลักธรรมขึ้นมาก็เพื่อเป็นการปฏิรูปแนว ความคิด ความเชื่อ ของชาวชมพูทวีปในสมัยนั้นให้ดียิ่งขึ้น หลักธรรมที่ทรงแสดงนั้นปรากฎว่าเป็นสัจธรรมและเป็นสากล สามารถนำไปใช้กับบุคคลทุกวรรณะ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกยุค และทุกประเทศ ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่มีธรรม เป็นเครื่องครองชีพและครองโลก เป็นศาสตร์ที่รวมแห่งศาสตร์ทั้งหลาย ไม่ว่าเป็นศาสตร์แขนงใด เริ่มต้นแต่เคหศาสตร์ อันเป็นศาสตร์สำหรับผู้ครองเรือน สรีรศาสตร์อันเป็นศาสตร์สำหรับครองกาย จิตศาสตร์อันเป็นศาสตร์สำหรับผู้ครอง จิตใจ วิทยาศาสตร์ขั้นต่ำจนถึงขั้นสูงสุดสำหรับผู้ต้องการเอาชนะธรรมชาติก็รวมอยู่ในพุทธศาสนาทั้งสิ้น

ประวัติความเป็นมา
    ประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตศักราช มีแคว้นของชนเผ่าอริยกะหรืออารยันแคว้นหนึ่งในตอนเหนือของประเทศอินเดียแถบ ลุ่มแม่น้ำคงคา ส่วนทางภาคตะวันออกเป็นแคว้นสักกะ ราชธานีชื่อ "กบิลพัสดุ์" (อยู่ระหว่างเมืองอาลาหะบัดกับเมือง ปัตนะในปัจจุบัน) พระราชาผู้ครองแคว้นทรงพระนามว่า "พระเจ้าสุทโธทนะ" และพระมเหสีทรงพระนามว่า "พระนางมหามายา" ประมาณ 584 ก่อนคริสตศักราช หรือ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ในวันเพ็ญเดือนหก พระนางมหามายา ได้ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า "เจ้าชายสิทธัตถะ" ราชสกุลของพระองค์ก็คือ "ศากยะ" ส่วนโคตมะ เป็นชื่อของราชวงศ์ พระกุมารนี้คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสมณโคดมพุทธเจ้า (พระองค์ท่านทรงสำเร็จ การศึกษาสำนักอาจารย์วิศวามิตร) ผู้เป็นศาสดาของพุทธศาสนา ซึ่งในกาลต่อมาได้กลายเป็นที่นับถือของประชาชนถึง หนึ่งในสามของโลกเมื่อพระเจ้าสิทธัตถะทรงพระเจริญวัยขึ้น ก็สนพระทัยครุ่นคิดแต่ปัญหาชีวิตของคน ทุกคน ต่อมาเมื่อทรงเสกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา แล้วประสูติพระโอรส คือ "ราหุล" เจ้าชายสิทธัตถะก็ยิ่งทรงเห็นโลกมีแต่ความทุกข์ อันเป็นห่วงผูกคอคล้องมนุษย์ ให้เกี่ยวข้องอยู่แต่ในโลกียวิสัย ทำให้เกิดรัก โกรธ โลภ หลง จนมนุษย์ขาดการพิจารณา เหตุผล บางครั้งถึงกับขาดเมตตาจิตต่อกัน จึงทรงหาทางดับทุกข์ เสด็จหนีจากราช สมบัติออกบรรพชา

    เมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษา และเสด็จท่องเที่ยวไปตามแคว้นใกล้ เคียง ศึกษาธรรมเพื่อแก้ทุกข์ตามสำนักลัทธิซึ่งมีมากมายในขณะนั้น และส่วนใหญ่ก็เป็น ลัทธิต่าง ๆ ที่สืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ ทรงอดทนทรมานพระวรกายอยู่ตาม สำนักอาจารย์และในป่าดงเป็นเวลา 6 ปี จนพระชนมายุได้ 35 ปี จึงทรงพบทางแก้ทุกข์ ได้ด้วยพระองค์เอง และทรงตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม (หรือพุทธคยาในปัจจุบัน) อันอยู่ในแคว้นมคธ ห่างจากกรุงราชคฤห์ประมาณ 300 ไมล์เมื่อตรัสรู้แล้วก็เสด็จเผยแพร่พระธรรมยังแคว้นมคธและแคว้นใกล้เคียง แล้วเสด็จสู่แคว้นสักกะโปรดพระพุทธบิดา มารดา พระมเหสี และศากยราชสกุล ประชาชนทุกชั้นวรรณะ ซึ่งก็มีผู้เลื่อมใสเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจตุบริษัทมีทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และทรงประกาศศาสนาร่วมกับพระสาวกอยู่ได้ 45 ปี ก็เสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ณ เมืองกุสินารา และในปีที่เสด็จปรินิพพานนั้นเป็นปีพุทธศักราช (พ.ศ.)สรุปพระชนมชีพของพระองค์เป็นไปตามลำดับ ดังนี้

  1. พระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรส
  2. พระชนมายุ 29 พรรษา เสด็จออกผนวช
  3. พระชนมายุ 35 พรรษา ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
  4. พระชนมายุ 80 พรรษา ปรินิพพาน

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
    นักปราชญ์ทางศาสนาสันนิษฐานว่าพระพุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในอาณาจักรทวารวดี ประมาณว่าจะมีคนไทยเริ่มนับถือ ศาสนาพุทธในสมัยนั้น และสันนิษฐานว่าได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศไทย 4 ยุคด้วยกัน คือ

  ยุคที่ 1 ประมาณ พ.ศ. 300 มีพระสงฆ์นิกาย หินยานเข้ามาตั้งเผยแผ่ที่นครปฐม และได้สร้างพระปฐมเจดีย์ไว้
  ยุคที่ 2

ประมาณ พ.ศ. 1300 กษัตริย์กรุงศรีวิชัย แห่งเกาะสุมาตรานำศาสนานิกาย มหายานเข้ามาเผยแผ่ที่ นครศรีธรรมราชและเมืองไชยาได้สร้างพระมหาธาตุไว้ที่นครศรีธรรมราชและสร้างพระธาตุไว้ที่ไชยา

  ยุคที่ 3

ประมาณ พ.ศ. 1800 พระเจ้าอนุรุทธแห่งพม่านำศาสนานิกาย หินยานมาเผยแผ่ที่ ลานนาไทย

  ยุคที่ 4

พ.ศ. 1800 (พร้อมกับยุคที่ 3) พระสงฆ์มาจากเกาะลังกา นำศาสนานิกาย หินยาน เข้ามาเผยแผ่ที่นครศรีธรรมราชอีกครั้งหนึ่ง

หลักธรรมของพุทธศาสนา
    ศาสนาพุทธมีธรรมะเป็นของพุทธศาสนาเอง คือ เรื่องของการดับแห่งทุกข์ ส่วนในทางศีลธรรมพระพุทธศาสนาสอนเช่น เดียวกับศาสนาของผู้รู้อื่น ๆ ก็ดี ปรัชญาก็ดี ไม่ว่าจะเป็นปรัชญาคติใด ย่อมจะตั้งอยู่บนความจริงเสมอ ความจริงที่แต่ละ ศาสนาและปรัชญาถือกันนั้นอาจจะแตกต่างกันได้ แต่ผู้ที่ประกาศลัทธิหรือประกาศทฤษฎีจะต้องถือว่าความจริงที่ตน ประกาศนั้นเป็นความจริงอันเที่ยงแท้ แล้วสอนศาสนาออกจากความจริงนั้นไปในทางอื่น ๆ คือ ทางศีลธรรมและความคิด หรือ การปฏิบัติ คำสอนของพระพุทธศาสนาตั้งอยู่บนความจริง 2 ระดับ และหนึ่งในนั้น ได้แก่ อริยสัจ คือ ความจริงที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งมีอยู่ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

การศึกษาพุทธศาสนาของชาวไทย
    ชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนาจะได้รับการอบรมสั่งสอนจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ตั้งแต่ในวัยเด็ก รวมทั้งหลักสูตรการ ศึกษาของไทยก็ได้บรรจุเรื่องของศีลธรรม ศาสนา ไว้ในทุกระดับการศึกษา อีกทั้งธรรมเนียมไทยสนับสนุนให้เด็กชาย บวชเป็นเณร และเป็นภิกษุเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ในชีวิตประจำวันก็ได้รับการอบรมสั่งสอนให้ละเว้นใน 5 สิ่ง และ ยึดถือปฏิบัติในสิ่งที่ตรงกันข้าม ที่เรียกว่า เบญจศีล และเบญจธรรม และในโอกาสสำคัญทางศาสนายังมีถือศีล 8 เพิ่มขึ้นอีก

Copyright (c) 2006 by Meemodo.com