ฝึกสมาธิพลังจิตหน้าคอมพิวเตอร์

สวัสดีครับวันนี้ผมอ.รวีโรจน์จะมาแนะนำให้ท่านได้ทำสมาธิหน้าจอคอมพิวเตอร์กันครับ การฝึกสมาธินั้นมีอยูหลายวิธี

ที่นิยมปฎิบัติกันนั้นเป็นแบบกำหนดลมหายใจเข้า-ลมหายใจออกแบบอานาปานสติ

นิยมใช้คำว่า"พุท-โธ" ,สัมมาอาระหัง ,นะมะพะทะ,ยุบหนอ-พองหนอ ก็สุดแล้วแต่

ครูบาอาจารย์ท่านได้สอนอบรมกันมา มาวันนี้ผมจะมาแนะนำทำสมาธิแบบวิธีการเพ่งกสิณ

ซึ่งเป็นสมาธิที่ทำได้ง่ายจิตเป็นสมาธิไวเป็นกรรมฐานกองแรกๆใน 40กองที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ได้ทรงสอนบัญญ้ติไว้ในพระคำภีร์ไตรปิฏก

          วิธีการเพ่งกสิณคือ .เพ่งมองภาพที่ชอบหรือถูกจริตกับตนเอง  .หลับตานึกถึงภาพกสิณ .ภาวนาในใจ 


                     ตัวอย่าง. เตโชกสิณ(กสิณไฟ) 

                       

        กสิณกรรมฐาน 10 อย่าง คือ...

                         กสิณแปลว่า เพ่งเป็นสภาพหยาบ สำหรับให้ผู้ฝึกจับให้ติดตาติดใจ ให้จิตใจจับอยู่ในกสิณใดกสิณหนึ่งใน 10 อย่าง ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จิตจะได้อยู่นิ่งไม่ฟุ้งซ่าน มีสภาวะให้จิตจับง่ายมี

การทรงฌานถึงฌาน 4 ได้ทั้งหมด กสิณทั้ง 10 เป็นพื้นฐานของอภิญญาสมาบัติ

กสิณทั้ง 10 อย่าง แบ่งออกเป็น 2 พวก

พวกที่หนึ่ง... คือ กสิณกลาง มี 6 อย่าง คนทุกจริตฝึกกสิณได้ทั้ง 6 เพราะเหมาะกับทุกอารมณ์ ทุกอุปนิสัยของคน

1. ปฐวีกสิณ จิตเพ่งดิน นึกถึงภาพดิน ภาวนาว่า ปฐวี กสิณังๆๆๆ

2. เตโชกสิณ จิตเพ่งไฟ นึกถึงภาพไฟ ภาวนาว่า เตโช กสิณังๆๆๆ

3. วาโยกสิณ จิตเพ่งอยู่กับลม นึกถึงภาพลม ภาวนาว่า วาโย กสิณังๆๆๆ

4. อากาสกสิณ จิตเพ่งอยู่กับอากาศ นึกถึงอากาศ ภาวนาว่า อากาส กสิณังๆๆๆ

5. อาโลกสิณ จิตเพ่งอยู่กับแสงสว่าง นึกถึงแสงสว่าง ภาวนาว่า อาโลก กสิณังๆๆๆ

6. อาโปกสิณ จิตนึกถึงน้ำเพ่งน้ำไว้ ภาวนาว่า อาโป กสิณังๆๆๆ

ให้เลือกภาวนากสิณใดกสิณหนึ่งให้ได้ถึงฌาน 4 หรือฌาน 5 กสิณอื่นๆ ก็ทำได้ง่ายทั้งหมด

พวกที่สอง... คือกสิณเฉพาะอุปนิสัยหรือเฉพาะจริตมี 4 อย่าง สำหรับคนโกรธง่าย คือพวกโทสะจริต

7. โลหิตกสิณ เพ่งกสิณ หรือนิมิตสีแดงจะเป็นดอกไม้แดง เลือดแดง หรือผ้าสีแดงก็ได้ทั้งนั้นจิตนึกภาพสีแดงแล้วภาวนาว่า โลหิต กสิณังๆๆๆ

8. นีลกสิณ ตาดูสีเขียวใบไม้ หญ้า หรืออะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว แล้วหลับตาจิตนึกถึงภาพสีเขียว ภาวนาว่า นีล กสิณังๆๆๆ

9. ปีตกสิณ จิตเพ่งของอะไรก็ได้ที่เป็นสีเหลือง ภาวนาว่า ปีต กสิณังๆๆๆ

10. โอทากสิณ ตาเพ่งสีขาวอะไรก็ได้แล้วแต่สะดวก แล้วหลับตานึกถึงภาพสีขาว ภาวนาโอทา กสิณังๆๆๆ จนจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่วอกแวกไม่รู้ลมหายใจภาพกสิณชัดเจน

ท่านว่าจิตเข้าถึงฌาน 4 พอถึงฌานที่ 5 ก็เป็นจิตเฉยมีอุเบกขาอยู่กับภาพกสิณต่างๆ ที่จิตจับเอาไว้

++ อยากรู้จัก... พระกรรมฐาน 40กอง(คลิก)

                  
                ประโยชน์ของสมาธิ 
  (ต้องอ่านนะครับ)

ประโยชน์ของสมาธิ พูดได้หลายอย่าง เช่น ประโยชน์ทางด้านอภิญญา ประโยชน์ทางด้านศาสนา ประโยชน์ทางด้านบุคลิกภาพ ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

1.ประโยชน์ทางด้านอภิญญา เช่น ฝึกสมาธิแล้วได้อภิญญา(ความสามารถพิเศษเหนือสามัญชน) ได้แก่ หูทิพย์ ตาทิพย์ ทายใจคนอื่นได้ แสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้ ประโยชน์ด้านนี้ไม่เกี่ยวข้องกับพระศาสนาโดยตรง

2.ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายทางพุทธศาสนาแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

(1)ประโยชน์ระดับต้น ฝึกสมาธิไประยะหนึ่ง จิตจะหายฟุ้งซ่าน จนถึงระดับได้ฌาน สามารถใช้สมาธิที่ได้ระงับ หรือข่มกิเลสได้ชั่วคราว แค่นี้ก็เรียกได้ว่าได้ "วิมุตติ"(หลุดพ้น)ระดับหนึ่งแล้ว เรียกว่า วิกขัมภมวิมุติ (หลุดพ้นด้วยข่มไว้)ตราบใดที่ยังข่มได้อยู่ เจ้ากิเลสมันก็ไม่ฟุ้งดอกครับ อย่าเผลอก็แล้วกันเผลอเมื่อได เดี๋ยว "จะเป็นเรื่อง"

เมื่อท่านเจ้าประคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) เทศน์สองธรรมาสน์กับ สมเด็จวัดเทพศิรินทร์ เจ้าคุณอุบาลีฯท่านอธิบายเรื่องกิเลส โลภ โกรธ หลง ยกศัพท์ยกแสงขึ้นมาอธิบายอย่างละเอียด สมเด็จท่านทักขึ้นว่า"แหม ว่าละเอียดเชียวนะ โลภมาจากธาตุนั้นปัจจัยนี้… ไหนลองบอกดูวิว่า ลาว มาจากธาตุอะไร"

(ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯท่านเป็นชาวอีสาน ที่คนภาคกลางมักจะเรียกเหยียดๆว่า "ลาว")

ท่านเจ้าคูณอุบาลีฯ ตอบว่า ลาว ภาษาบาลีว่า ลาโว แปลว่า "ผู้ตัด" มาจาก ลุ ธาตุ วิเคราะห์ว่า ลุนาตีติ ลาโว = ผู้ใดย่อมตัดผู้นั้นชื่อว่าลาว" "ตัดอะไร" สมเด็จซัก "ตัดหางเปียเจ็ก" เจ้าคุณอุบาลีฯสวนขึ้นทันที(สมเด็จท่านมีเชื้อสายจีนชาวชลบุรีครับ) สมเด็จไม่ทันระวังตัว เพราะมัวไปแขวะคนอื่นเพื่อความมันส์โกรธหน้าแดงเลย นี่แหละครับ กิเลสที่มันสงบอยู่ดุจหญ้าถูกหินทับ พอถูกสะกิดเท่านั้นมันก็ฟุ้งขึ้นมาได้ ยกเรื่องจริงในยุทธจักรดงขมิ้นมาเล่าประดับความรู้ครับ

(2)ประโยชน์ระดับสูงสุด ก็คือสมาธิอันเป็นบาทฐานวิปัสนาพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายรู้แจ้งไตรลักษณ์ กำจัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิง พูดอีกในหนึ่งก็คือสมาธินำไปสู่ความเป็นพระอรหันต์นั้นแหละครับ

3.ประโยชน์สมาธิในด้านพัฒนาบุคลิกภาพ ผู้ที่ฝึกสมาธิประจำ ย่อมมีบุคลิกภาพที่พึงปรารถนาหลายประการเช่น
(1)มีบุคลิกหนักแน่น เข้มแข็ง
(2)มีความสงบเยือกเย็น ไม่ฉุนเฉียวเกรี้ยวโกรธ
(3)มีความสุภาพ นิ่มนวล ท่าทีมีเมตตากรุณา
(4)สดใส สดชื่น เบิกบาน
(5)สง่า องอาจ น่าเกรงขาม
(6)มีความมั่นคงทางอารมณ์
(7)กระฉับกระเฉง ไม่เซื่องซึม
(8)พร้อมเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ฉับไว ไม่ต้องอธิบาย เพียงเอ่ยถึง ก็คงเข้าใจแล้วนะครับ

4.ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน คนมักถามว่าฝึกสมาธิแล้วได้ประโยชน์อะไรในชีวิตประจำวัน ฝึกแล้วบรรลุมรรคผลนิพพานน่ะ รู้แล้วว่าพระคัมภีร์พูดไว้จริง แต่ได้จริงหรือเปล่า ยังไม่เคยเห็น ถ้าจะให้ทำเองก็ไม่ทราบว่าเมื่อไรจะเห็นผล เอาในชีวิตประจำวันเห็นๆกันนี้ดีกว่าว่าฝึกแล้วได้อะไร

ได้มากมายทีเดียวกันเช่น
(1) ทำให้ใจสบาย ไม่เครียด มีความสุข ผ่องใส
(2) หายหวาดกลัว หายกระวนกระวายโดยไม่จำเป็น
(3) นอนหลับง่าย ไม่ฝันร้าย สั่งตัวเองได้(เช่น สั่งให้หลับหรือตื่นตามเวลาที่กำหนดไว้ได้)
(4) กระฉับกระเฉง ว่องไว รู้จักเลือกและตัดสินใจเหมาะแก่สถานการณ์
(5) มีความแน่วแน่ในจุดหมาย มีความใฝ่สัมฤทธิ์สูง
(6) มีสติสัมปชัญญะดี รู้เท่าปรากฏการณ์ และยับยั้งใจได้ดีเยี่ยม
(7) มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำกิจกรรมสำเร็จด้วยดี
(8) ส่งเสริมสมรรถภาพมันสมอง เรียนหนังสือเก่ง ความจำดีเยี่ยม
(9) เกื้อกูลต่อสุขภาพร่างกาย เช่นชะลอความแก่ หรืออ่อนกว่าวัย
(10)รักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคเครียด โรคท้องผูก โรคความดันโลหิต โรคหืด หรือโรคกายจิตอย่างอื่น
โรคกายจิต(อ่านว่าโรค กา-ยะ-จิต ) หมายถึง ไม่เป็นโรค แต่ใจคิดว่าเป็น คิดบ่อยๆเข้าก็เลยเป็นจริงๆ อาการอย่างนี้ฝึกสมาธิสักพักเดียวก็หาย

+ลองฝึกสมาธิดูสิครับ วันละเล็กละน้อยวันละ 5-10นาที ทำบ่อยๆเป็นกิจวัตร ไม่ช้าไม่นานเราจะรู้ตัวว่า

เรากลายเป็นคนละคนกับคนเก่า-ปานนั้นเชียว
 
 
 
"ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ"จากผม "อ.รวีโรจน์ วงศ์เสาร์" 

                                                     

                                                                

 


 
                                                                                     


                                                                               
                                                                                                                              

  Design by  Meemodo.com