**
 
กรรมจากการฆ่าตัวตาย..

การฆ่าตัวตายบาปมากแค่ไหนมาดูกัน

 


"ผูกคอตาย ,กระโดดน้ำตาย , ยิงตัวตาย, กลั้นใจตาย,ฆ่าตัวตาย ฯลฯ 

จะตกนรกเป็นเวรกรรมผูกพันอีกหลายภพชาติ"

ฆ่าตัวตาย..จะต้องตามไปฆ่าตัวเองอีก 500 ชาติ เคยมีเรื่องราวสมัยพุทธกาลเล่าว่า มีพระรูปหนึ่งจะมาลาพระพุทธเจ้าไปเผยแผ่ศาสนา ก่อนไปพระพุทธเจ้าถามพระองค์นั้นว่า

ตถาคต: ถ้ามีคนมาว่าท่านหละ
ภิกษุ: เขามามาว่าเราก็ดีกว่าเขาเอาก้อนดินมาปา
ตถาคต: ถ้าเขาเอาก้อนดินมาปาท่านหละ
ภิกษุ: เขาเอาก้อนดินมาปาก็ดีกว่าเขาเอาไม้มาตี
ตถาคต: ถ้าเอาไม้มาตีท่านหละ
ภิกษุ: เขาเอาไม้มาตีก็ดีกว่าเขาเอามีดมาฟันให้บาดเจ็บ
ตถาคต: ถ้าเขาทำให้ท่านบาดเจ็บหละ
ภิกษุ: เขาทำให้บาดเจ็บก็ดีกว่าเขาฆ่าเราให้ตาย
ตถาคต: ถ้าเขาฆ่าท่านให้ตายหละ
ภิกษุ: เขาฆ่าเราให้ตายก็ดีกว่าเราฆ่าตัวตาย
พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตให้พระองค์นั้นไปตามแคว้นอื่นได้

โทษของการฆ่าตัวตาย

คน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในวัฏสงสารนั้น เมื่อตายแล้วจะเกิดใหม่เป็นอะไร หรือจะไม่ต้องเกิดอีกนั้น ก็ขึ้นกับสภาวะจิตตอนใกล้จะตาย ที่เรียกว่า มรณาสันนวิถี เป็นสำคัญ คือถ้าขณะนั้นจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมองด้วยกิเลส ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดี คือ สุคติภูมิ แต่ถ้าขณะนั้นจิตเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส เพราะถูกกิเลส หรืออุปกิเลสครอบงำแล้ว (ดูเรื่องอุปกิเลส 16 ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ) ก็จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ไม่ดี คือ ทุคติภูมิ (คือจะไปเกิดในภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับจิตในมรณาสันนวิถีมากที่สุดนั่นเอง) และถ้าขณะนั้นจิตหมดความยินดีพอใจ หรือหมดความยึดมั่นถือมั่นในภพภูมิใดๆ รวมทั้งในสิ่งทั้งปวงแล้ว ก็จะหมดเหตุให้ต้องเกิดอีก (ดูเรื่องปฏิจจสมุปบาท ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ)

ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ ดังนี้
พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์ วัตถูปมสูตร
[๙๒] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่เศร้าหมองมลทินจับ ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมภู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมไม่ดี มีสีมัวหมอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.

ผ้าที่บริสุทธิ์สะอาด ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมภู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมดี มีสีสด ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะผ้าเป็นของบริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.

คนทั่วไปก่อนฆ่าตัวตายนั้น จิตจะน้อมไปในทางโทสะอย่างแรงกล้า (ความโกรธ เศร้า หดหู่ หมดหวัง กลัว ความทุกข์ทางใจทั้งหลาย) เพราะธรรมดาแล้ว ชีวิตของตนย่อมเป็นที่รักยิ่งของคนทั่วไป คนทั่วไปนั้นเมื่อรู้ตัวว่าความตายกำลังจะมาถึง จะมีความหวาดหวั่น พลั่นพลึง กลัวตาย และจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ แม้จะต้องอยู่อย่างยากลำบาก ก็ยังดีกว่าจะต้องตายไป แม้สัตว์ทั้งหลายก็ยังดิ้นรนเพื่อหนีความตาย

ดังนั้น คนที่จะสามารถฆ่าตัวตายได้นั้น ขณะนั้นจะต้องถูกความทุกข์ทางใจ (ทุกทางใจทุกชนิด เป็นจิตที่มีโทสะเป็นมูล) ครอบงำอย่างรุนแรง จึงจะสามารถทำลายชีวิตอันเป็นที่รักยิ่งของตนลงได้ ซึ่งความทุกข์ทางใจ หรือโทสมูลจิตนี้ อาจจะมีสาเหตุจากเรื่องทางใจ หรือเรื่องทางกายก็ได้ เช่น อกหัก ผิดหวัง เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ความล้มเหลวในชีวิต ฯลฯ

เมื่อเป็นดังนี้แล้ว หลังจากตายไปก็ย่อมจะต้องไปเกิดในทุคติภูมิอย่างไม่ต้องสงสัย และด้วยความรุนแรงของไฟโทสะที่ครอบงำจิตใจนั้น ทุคติภูมิที่ว่าก็คงไม่พ้นนรกอย่างแน่นอน เพราะเป็นภพภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับโทสะที่สุดนั่นเอง


ดังนั้น ผู้ที่คิดสั้นจะยุติปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายนั้น ขอให้คิดดูให้ดี เพราะนอกจากจะต้องไปพบกับทุกข์ครั้งใหม่ในนรก ซึ่งเป็นทุกข์ที่รุนแรงกว่าแล้ว ยังเป็นการสร้างทุกข์ สร้างปัญหาให้กับคนอื่นๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ต้องรับความทุกข์ที่เขาไม่ได้ก่ออีกด้วย กรุณาให้ความเป็นธรรมกับเขาเหล่านั้นด้วย


มรณานุสสติ แปลว่า นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดาของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อมีความเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด ความตายนี้รู้สึกว่าเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ทั่วไป พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย้ำตามความเป็นจริงว่า ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดาไม่มีใครจะหลีกหนีพ้น ความตายนี้แบ่งออกเป็นสาม อย่างด้วยกัน คือ

     ๑.สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ท่านเสร็จ กิจแห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับ ท่านให้เกิดอีกไม่มี ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่า สมุจเฉทมรณะ แปลว่า ตายขาดตอนไม่กลับมาเกิดอีก

     ๒. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็กๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับ หรือการ เคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอดคือ ตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือ ตายทุกลมหายใจออกและเกิด ต่อทุกๆ ลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราวเมื่อสิ้นอำนาจ ของอาหารเก่า ร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทนแต่ถ้าไม่ได้อาหารใหม่เข้าไปทด แทนชีวิตก็จะต้องดับ ชีวิตที่ทรงอยู่ได้ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหาร เก่า ท่านถือว่าร่างกายต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ชีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระ หนึ่ง การเกิดการตายต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลม หายใจออกแล้ว ไม่หายใจเข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันที ที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็ เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุนทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่ามี ความตายเป็นปกติทุกวันเวลาอย่างนี้ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แปลว่า ตายทีละเล็กละน้อย หรือ ตายเล็ก ๆ น้อย ๆ

     ๓. กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลตามสมัยที่ชาวโลก นิยม เรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างชนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะ แปลว่า ตายใน โอกาสที่ยังไม่ถึงกาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้นให้ตาย การตายประเภทหลังนี้พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ตามสมควรแก่กรรมใน อดีต จะต่อให้เลยพอดีนั้นไม่ได้ พวกตายตามแบบกาลมรณะตายไปแล้วเสวยผลกรรมทันที แต่ พวกที่ตายตามแบบอกาลมรณะนี้ ตายแล้วยังไม่ไปเสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหา ที่เกิดก่อน คือรอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำ ไว้ขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้นั้นต้องลำบากในเรื่องอาหารและที่อยู่ ท่องเที่ยวไปตามความ ต้องการ พวกตายแบบอกาลมรณะนี้ ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า ตายโหงนั่นเอง เช่น ถูกฆ่าตาย คลอด ลูกตาย รถทับตาย ฟ้าผ่าตาย ฆ่าตัวตาย งูกัดตาย รวมความว่าตายแบบผิดปกติ ไม่ใช่ป่วยตายตาม ธรรมดาเรียกว่า อกาลมรณะ คือตายก่อนกำหนด ตายทั้งนั้น การตายแบบนี้ ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วย เหลือสามารถช่วยให้พ้นตายได้ เช่น ที่นิยมเรียกกันว่า สะเดาะเคราะห์หรือต่ออายุ การสะเดาะ-เคราะห์หรือต่ออายุนั้น ต้องทำโดยธรรมจริง ๆ และรู้จริงจึงใช้ได้



ถาม – การฆ่าตัวตายถือเป็นปาณาติบาตหรือเปล่าคะ?

การฆ่าตัวตายไม่ใช่ปาณาติบาต แต่เป็นอัตวินิบาต เป็นกรรมคนละอย่างครับ ปาณาติบาตคือปลงชีวิตสัตว์อื่น มีผลให้ชีวิตของสัตว์อื่นขาดก่อนถึงอายุขัย พรากสิทธิ์ในการมีชีวิตไปจากเขา โดยเฉพาะหากเขามีบุญมาก ก็เท่ากับตัดโอกาสเสวยสุขของเขาทิ้งทั้งยวง ส่วนอัตวินิบาตคือการปลงชีวิตตนเอง มีผลให้ไม่ได้ใช้กรรมที่ควรใช้ก่อนถึงอายุขัย โดยเฉพาะหากมีบาปมาก ก็เท่ากับพยายามแหกคุกเพื่อหนีโทษด้วยทางลัด 

การไม่รอให้มีการล้างไพ่ใหม่ตามกาล จัดเป็นการตัดตอน สร้างปมยุ่งเหยิงขึ้น ไม่ให้เป็นไปตามวิถีธรรมชาติกรรมวิบาก เปรียบกับหนี้ก็ซับซ้อนกว่าหนี้ชนิดไหนๆ เนื่องจากการทบหนี้กรรมนั้นแตกต่างจากการทบต้นทบดอกของหนี้สินเงินทองมาก ถ้าคุณฆ่าคนมีบุญ โอกาสเสวยบุญของเขาที่ถูกตัดทิ้ง ย่อมสะท้อนกลับมาเป็นความหมดโอกาสเสวยบุญของคุณเช่นกัน คุณจะมีอายุมากในอัตภาพที่เป็นทุกข์ แต่จะมีอายุสั้นในอัตภาพที่เป็นสุข
และถ้าฆ่าตัวเองขณะต้องใช้บาป การหนีโทษย่อมเป็นการเพิ่มโทษในตัวเอง ทุกข์ที่ยังไม่เสวยก็ต้องเสวยอยู่ดี แถมพ่วงทุกข์อันเกิดจากการพยายามแหกคุกเข้าไปอีกกระทง นั่นคือแทนที่จะต้องทนทุกข์ในสภาพมนุษย์ตามเดิม ก็ต้องไปทนทุกข์ในสภาพเปรต สภาพเดรัจฉาน หรือสภาพสัตว์นรก ซึ่งเป็นอัตภาพที่แย่หนักเข้าไปใหญ่

ข้อแตกต่างระหว่างปาณาติบาตกับอัตวินิบาตยังมีอีกมาก เช่น ปาณาติบาตมีผลในกาลต่อไปเป็นความโหดเหี้ยมของจิตใจ มีใบหน้าเหี้ยมเกรียม มีความเดือดร้อนเรื่องสุขภาพกาย อาจถูกรังแก อาจถูกฆ่าให้ตายก่อนวัยอันควร ส่วนอัตวินิบาตมีผลในกาลต่อไปเป็นความอ่อนแอทางใจ มีใบหน้าเศร้าหมอง มีความเดือดร้อนเรื่องสุขภาพจิต คิดมากและน้อยใจเก่ง รู้สึกอ่อนแอ อยากตายด้วยเหตุบีบคั้นแค่ง่ายๆ เป็นต้น

การฆ่านั้น ไม่ว่าฆ่าผู้อื่นหรือฆ่าตนเอง ย่อมได้ชื่อว่าทำจิตให้เศร้าหมอง เมื่อจิตเศร้าหมองย่อมมีคติวิบัติเป็นที่หวัง แต่หากฆ่าตนเองโดยไม่มีจิตเศร้าหมอง ทำจิตให้ขาดจากอุปาทานว่าเป็นตัวตน อันนั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญ การสิ้นชีวิตขณะไร้อุปาทานไม่ถือเป็นบาปด้วยประการทั้งปวง ที่ทำอย่างนั้นได้ก็มีแต่ผู้ศึกษาธรรมจนเข้าใจ และปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงแล้วเท่านั้นครับ



สติปัฏฐาน 4

กายานุปัสนา
เวทนานุปัสนา
จิตานุปัสนา
ธรรมานุปัสนุ


[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายหนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ

๔ ประการเป็นไฉน? 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ 
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญา มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ 
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ 

*ขอบคุณ ..ธรรมะ chongter , ภาพประกอบ ...Google




 
 

 


 ธรรมะมีหมอดู
 

 
ชมรมบ้านโหรเทวเทพ    


หมอดูแม่นๆ